ลูกบล็อก(ชุดประแจบล็อก)ชุดประแจบล็อกเครื่องมือนี้ใช้สำหรับขันโบลท์/นัตเข้าหรือคลายออก โดยมีขนาดของลูกบล็อกและด้ามจับที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน
การใช้
เครื่องมือนี้จะนำไปจับยึดบนโบลท์/นัต เพื่อที่จะขันหรือคงายออกด้วยประแจบล็อก
1. ขนาดของลูกบล็อก
มี 2ขนาด ใหญ่และเล็ก
ชิ้นที่ใหญ่สามารถให้แรงบิดได้มากกว่าชิ้นเล็ก
2. ความลึกของลูกบล็อก
มี2ชนิด มาตรฐานและลึกพิเศษ ซึ่งจะลึกกว่ามาตรฐาน 2 หรือ 3 เท่า ชนิดที่ลึกสามารถนำไปใช้กับโบลท์/นัตที่เป็นชนิดที่ใช้กับงานเฉพาะที่ไม่เหมาะสมกับขนาดลูกบล็อกที่เป็นมาตรฐาน
3.ปากลูกบล็อก
มี2ชนิด 6เหลี่ยมและ12 เหลี่ยม สำหรับ6เหลี่ยมจะมีพื้นที่ผิวที่ใหญ่พอที่จะสัมผัสกับโบลท์/นัต ทำให้ยากที่จะทำความเสียหายให้กับโบลท์/นัตได้
ตัวต่อลูกบล็อก(ชุดประแจบล็อก)
การใช้ใช้ตัวเชื่อมต่อเพื่อเปลี่ยนขนาดของตัวต่อลูกบล็อก
ข้อสังเกต:
เมื่อต้องใช้แรงขันสูงๆในการขัน
ไม่ควรที่จะใช้ลูกบล็อกขนาดเล็กขัน เพราะมันจะมีข้อจำกัดของแรงที่จะใช้ในการขันและอาจทำให้ลูกบล็อกเกิดความเสียหาย
1 ตัวต่อลูกบล็อก(ใหญ่ไปเล็ก)
2 ตัวต่อลูกบล็อก(เล็กไปใหญ่)
3 ลูกบล็อกขนาดเล็ก
4 ลูกบล็อกขนาดใหญ่
ข้อต่ออ่อน(ชุดประแจบล็อก)
การใช้
1 ข้อต่อลูกบล็อกแบบนี้ สามารถเคลื่อนไหวไปข้างหน้าข้างหลัง ซ้ายหรือขวาได้ และช่วงข้อของด้ามจับ
2 สามารถปรับเปลี่ยนมุมได้อย่างอิสระ
3 ทำให้เนประโยชน์ต่อการใช้งานในพื้นที่ที่จำกัด
ข้อสังเกต:
1. อย่าใช้ในลักษณะที่ด้ามจับเอียงมากๆ
2.อย่าใช้กับเครื่องมือลม เพราะข้อต่ออาจแยกออกจากกันในขณะเดียวกัน มันไม่สามารถรองรับแรงหมุนได้
และจะทำให้เกิดความเสียหายกับเครื่องมือชิ้นส่วนอะไหล่หรือยานพาหนะได้
ด้ามต่อยาว(ชุดประแจบล็อก)
การใช้
1.สามารถใช้ถอดและเปลี่ยนโบลท์/นัตในตำแหน่งที่ลึกสุด ไม่สามรถเอื้อมถึง
2.ด้ามต่อยาว สามารถนำไปใช้เพื่อเพิ่มระยะให้กับเครื่องมือ เมื่อพื้นที่อยู่ติดหรือแบนราบมากๆ
ด้ามขัน(ชุดประแจบล็อก)การใช้
ด้ามจับชนิดนี้ใช้สำหรับขันและคลายโบลท์/นัตที่ต้องการใช้แรงขันมากๆ
ปากบล็อกปรับมุมได้ เพื่อให้ข้อมุมของด้ามจับสามารถปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับประแจบล็อก
ด้ามจับแบบสไลด์ยอมให้ปรับเปลี่ยนความยาวของด้ามจับได้
คำเตือน:
ขยับด้ามจับจนเข้าล็อคก่อนที่จะใช้ ถ้ามันไม่เข้าล็อค ด้ามจับอาจจะเลื่อนเข้าออกได้
ในระหว่างที่ใช้ ซึ่งจะทำให้ช่างได้รับบาดเจ็บจากการเลื่อนไปมาได้
ด้ามขันแบบเลื่อน (ชุดประแจบล็อก)
การใช้
ด้ามจับชนิดนี้สามารถใช้ได้ 2 อย่างโดยเลื่อนตำแหน่งของด้ามจับ
1.แบบ L : เพื่อเพิ่มแรงบิด
2.แบบ T : เพื่อเร่งความเร็วในการหมุน
ที่มา : https://dataengine.wikispaces.com